ในสมัยแรกยังไม่มีประเพณีหล่อเทียน แห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฝั่นเทียนยาวรอบศรีษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชา จำพรรษา หาน้ำมันไปถวายพระสงฆ์และหาเครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระสงฆ์ ต่อมาในสมัยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสุธรรมสิมธิประสงค์ เป็นข้าหลวง ต่างพระองค์ที่เมืองอุบลฯ คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่ บั้งไฟมีการทะเลาะวิวาททุบตีกันถึงแก่ความตาย ทรงเห็นว่าประเพณีบุญบั้งไฟไม่เหมาะสมเพราะบางครั้งบั้งไฟแตกถูกประชาชนบาดเจ็บมีการเล่นคลุกดินคลุกโคลนสกปรกเลอะเทอะ ทั้งไม่ใช้ประเพณีทางศาสนาจึงให้ ยกเลิกประเพณีนี้ เปลี่ยนเป็นประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษาแทน การแห่เทียนเข้าพรรษาแต่เดิมไม่ได้ทำใหญ่โตเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านร่วมกัน บริจาคเทียนแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ หากกระดาษสีเงินสีทองเป็นลายฟันปลา บิดตามรอยต่อเสร็จแล้วก็แห่ไปถวายวัด ส่วนการทำเทียนในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทแบบติดพิมพ์ และแบบแกะสลัก การทำเทียนแบบติดพิมพ์

ประเพณีไทย คือ ประเพณีอันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย ประเพณีและอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เรา ... คนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไป
บทความที่ได้รับความนิยม
ประเพณีแห่เทียนพรรษา
ในสมัยแรกยังไม่มีประเพณีหล่อเทียน แห่เทียนเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านจะฝั่นเทียนยาวรอบศรีษะไปถวายพระเพื่อจุดบูชา จำพรรษา หาน้ำมันไปถวายพระสงฆ์และหาเครื่องไทยทานและผ้าอาบน้ำฝน ไปถวายพระสงฆ์ ต่อมาในสมัยพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงสุธรรมสิมธิประสงค์ เป็นข้าหลวง ต่างพระองค์ที่เมืองอุบลฯ คราวหนึ่งมีการแห่บั้งไฟที่วัดกลาง มีคนไปดูมาก ในการแห่ บั้งไฟมีการทะเลาะวิวาททุบตีกันถึงแก่ความตาย ทรงเห็นว่าประเพณีบุญบั้งไฟไม่เหมาะสมเพราะบางครั้งบั้งไฟแตกถูกประชาชนบาดเจ็บมีการเล่นคลุกดินคลุกโคลนสกปรกเลอะเทอะ ทั้งไม่ใช้ประเพณีทางศาสนาจึงให้ ยกเลิกประเพณีนี้ เปลี่ยนเป็นประเพณีแห่เทียน เข้าพรรษาแทน การแห่เทียนเข้าพรรษาแต่เดิมไม่ได้ทำใหญ่โตเช่นปัจจุบัน ชาวบ้านร่วมกัน บริจาคเทียนแล้วนำเทียนมาติดกับลำไม้ไผ่ หากกระดาษสีเงินสีทองเป็นลายฟันปลา บิดตามรอยต่อเสร็จแล้วก็แห่ไปถวายวัด ส่วนการทำเทียนในปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ประเภทแบบติดพิมพ์ และแบบแกะสลัก การทำเทียนแบบติดพิมพ์
ประเพณีบุญบั้งไฟ

ประเพณีผีตาโขน
ประเพณีสงกรานต์
ประเพณีสงกรานต์ ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า “สงกรานต์”มาจากภาษาสันสฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนไทยมาช้านาน การย้ายของพระอาทิตย์เข้าไปจักรราศีใดราศีหนึ่ง จะเป็นราศีใดก็ได้ แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้หมายเฉพาะวันและเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่านั้น สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีนศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้างและมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธีได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่นมีการขอพรจากผู้ใหญ่การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุขปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น‘Water Festival’เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำเทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ
ประเพณีลอยกระทง
ประเพณีลอยกระทงนั้น ไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัดว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อใด แต่เชื่อว่าประเพณีนี้
ได้สืบต่อกันมายาวนานตั้งแต่สมัยสุโขทัยโดยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง เรียกประเพณีลอยกระทงนี้ว่า
"พิธีจองเปรียญ" หรือ "การลอยพระประทีป"และมีหลักฐานจากศิลาจารึกหลักที่ 1กล่าวถึงงานเผาเทียนเล่นไฟ
ว่าเป็นงานรื่นเริงที่ใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้เชื่อกันว่างานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอนก่อนที่
นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ สนมเอกของพระร่วงจะคิดค้นประดิษฐ์กระทงดอกบัวขึ้นเป็นคนแรกแทนการลอยโคม
"ครั้นวันเพ็ญเดือน 12 ข้าน้อยได้กระทำโคมลอย คิดตกแต่งให้งามประหลาดกว่าโคมสนมกำนัลทั้งปวงจึงเลือก
ผกาเกษรสีต่าง ๆมาประดับเป็นรูปกระมุทกลีบบานรับแสงจันทร์ใหญ่ประมาณเท่ากงระแทะล้วนแต่" พรรณดอกไม้ซ้อนสีสลับให้ป็นลวดลาย...
เมื่อสมเด็จพระร่วงเจ้าได้เสด็จฯ ทางชลมารค ทอดพระเนตรกระทงของนางนพมาศก็ทรงพอพระราชหฤทัย
จึงโปรดให้ถือเป็นเยี่ยงอย่างและให้จัดประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยให้ใช้กระทงดอกบัวแทนโคมลอย
ดังพระราชดำรัสที่ว่า"ตั้งแต่นี้สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตตฤกษ์
วันเพ็ญเดือน 12ให้ทำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมมทานทีตราบเท่ากัลปาวสาน"
พิธีลอยกระทงจึงเปลี่ยนรูปแบบตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
................................................
ประเพณีแข่งเรือ
การรบจะเรือพายเข้ามาชิดเรือข้าศึก และฝีพาย ซึ่งเป็นกำลังรบด้วย จะทำการเข้าประชิดตัวข้าศึก ทำการรบพุ่งกับข้าศึก.
ดังนั้นเรือพายจึงเป็นกำลังหลักทางน้ำ ในยามบ้านเมืองสงบปราศจากข้าศึก กองทัพเรือได้ทำเรือพายมาใช้ในการแข่งขันกีฬา
เช่น การเล่นเพลาเรือ พระเพณีพรและประเพณีแข่งเรือ
คนไทยมีความผูกพันกับสายน้ำมาเป็นระยะเวลานานแสนนาน เพราะส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามราบลุ่มน้ำในสังคมเกษตรกรรม
อาจกล่าวได้ว่าสายน้ำเปรียบเสมือนสายชีวิต สายโลหิตที่อาศัยดื่มกินและหล่อเลี้ยงพืชพันธุ์ธัญญาหาร
การแข่งเรือเป็นการละเล่นเพื่อให้ความสนุกสนานรื่นเริง เป็นการละเล่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนบท
ประเพณีการแข่งเรือยาวจึงได้รับความนิยมมาช้านานนับศตวรรษ และในปัจจุบันก็ยังคงมีการจัดอยู่ทุกปี
ตามวัดในต่างจังหวัด ริมน้ำเจ้าพระยาภาคกลาง เช่น อยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี
จะเห็นได้ว่าการแข่งเรือเป็นการละเล่นของชาวบ้าน ที่ต้องอาศัยทั้งความสามัคคีและความร่วมแรงร่วมใจ
ตลอดจนถึงความชำนาญ ไหวพริบประกอบกันไป แต่การแข่งเรือยาวของชาวบ้านทั่วไปแม้จะถือว่าเป็นเรื่อง
ที่ทำกันอย่างจริงจังก็ตามแต่เมือมีฝ่ายแพ้และฝ่ายชนะต่างก็ยอมรับสภาพของตนเองอย่างนักกีฬา
เพราะรู้ดีว่าเป็นการแข่งขันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคีมากกว่าสิ่งอื่นใด
ในอดีตการปกป้องรักษาบ้านเมือง นอกจากมีกำลังพลกองทัพบกแล้ว กำลังพลกองทัพเรือ ก็มีความสำคัญในการรักษาเอกราชของชาติ
ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ กำลังรบทางเรือในลำน้ำ แม่น้ำลำคลอง ใช้เรือพายเป็นหลัก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)